Customs Clearance
  • การปฏิบัติพิธีการศุลกากร
  • การนำเข้าสินค้า
    • คู่มือใบขนสินค้าขาเข้า
      • โครงสร้างข้อมูล
      • การคำนวณมูลค่าเงินนำเข้า
      • รูปแบบเลขที่ใบขนสินค้า
      • ประเภทของเอกสาร (Document Type)
      • ระบบทะเบียนผู้มาติดต่อ
      • วันนำเข้า (Arrival Date)
      • เลขที่ใบตราส่ง (Bill of Lading)
      • การกำหนดสถานที่
      • Shipping Marks
      • จำนวนและน้ำหนักของสินค้า
      • มีปัญหาพิกัด ราคา พบพนักงานศุลกากร
      • รหัสสกุลเงินตราและอัตราแลกเปลี่ยน
      • หลักการรวมรายการของบัญชีราคาสินค้า
      • ราคาของในการจัดทำข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า
      • INCOTERMS
      • ภาค 4 ของที่ได้รับยกเว้นอากร
        • 1 ภาค 4 สุทธินำกลับ
        • 2 ภาค 4 นำกลับไปซ่อม
        • 3 ภาค 4 ทัณฑ์บนนำเข้าชั่วคราว
        • 5 ภาค 4 ของใช้ส่วนตัว
        • 6 ภาค 4 ของใช้ในบ้านเรือนที่ใช้แล้ว
        • 7 ภาค 4 อุปกรณ์ของอากาศยานหรือเรือ
        • 10 ภาค 4 ของที่ได้รับเอกสิทธิ์
        • 11 ภาค 4 นำเข้ามาเพื่อบริจาค
        • 13 ภาค 4 ยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในราชการ
        • 14 ภาค 4 ตัวอย่างสินค้า
        • 16 ภาค 4 นำเข้ามาสำหรับคนพิการ
        • 17 ภาค 4 นำเข้ามาสำหรับการประชุมระหว่างประเทศ
        • วัสดุอุปกรณ์ในการขุดเจาะน้ำมัน
      • สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร
      • การชำระหรือวางประกันค่าภาษีอากร
        • การขอวางประกันโต้แย้งพิกัดอัตราศุลกากร
        • ขอวางประกันกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
        • วางประกันอากรตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน
        • หลักการบันทึกค่าภาษีอากรและวางประกัน
      • Payment Method and Guarantee Method
      • รหัสเหตุผลการโต้แย้ง (Argumentative Reason Code)
      • ประเภทค่าภาษีอากร (Duty Type)
      • หน่วยงานผู้ออกใบอนุญาต
      • การตรวจสอบระหว่างใบขนสินค้ากับ Manifest
      • รหัสสิทธิพิเศษ
    • ภาษีสรรพสามิต
      • การคำนวณภาษีสินค้าสรรพสามิต
        • เครื่องดื่มเข้มข้น
        • เครื่องดื่มชนิดผง เกล็ด
        • เครื่องดื่ม
        • ยาสูบ
        • สุรา
      • โครงสร้างราคาขายปลีกแนะนำ
      • สืบค้นรหัสสินค้าสรรพสามิต
    • การชำระค่าภาษีอากร ค่าธรรมเนียม
    • มาตรการปกป้องและตอบโต้ทางการค้า
  • สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร
    • คู่มือสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร
      • การโอนย้ายของออกจาก
        • ขอคืนอากรตามมาตรา 29
        • ส่งเสริมการลงทุน BOI
        • คลังสินค้าทัณฑ์บน
        • เขตปลอดอากร (Freezone)
        • เขตประกอบการเสรี (I-EAT Freezone)
      • เลขทะเบียนสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร
        • ขอคืนอากรตามมาตรา 29
        • คลังสินค้าทัณฑ์บน
        • เขตปลอดอากร/เขตประกอบการเสรี
  • ใบอนุญาต/ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์
    • รหัสยกเว้นไม่ต้องมีใบอนุญาต
  • สิทธิพิเศษทางการค้า
    • Checklist
    • ASEAN
    • ASEAN - China
  • ถ่ายลำ/ผ่านแดน
  • ข้อมูลติดต่อด่านศุลกากร
Powered by GitBook
On this page
  • แบ่งตามรูปแบบการขนส่งสินค้า
  • แบ่งตามจุดส่งมอบสินค้า
  • Group E (การออกจากสถานที่)
  • Group F (การขนส่งหลักไม่ถูกจ่ายโดยผู้ขาย)
  • Group C (การขนส่งหลักถูกจ่ายโดยผู้ขาย)
  • Group D (การมาถึง)

Was this helpful?

  1. การนำเข้าสินค้า
  2. คู่มือใบขนสินค้าขาเข้า

INCOTERMS

Previousราคาของในการจัดทำข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าNextภาค 4 ของที่ได้รับยกเว้นอากร

Last updated 5 years ago

Was this helpful?

Incoterms (International Commercial Terms) เป็นข้อกำหนดการส่งมอบสินค้า (Term of Shipment) ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายที่เป็นสากล ซึ่งกำหนดขึ้นโดยสภาหอการค้านานาชาติ (International Chamber of Commerce) ได้มีการประชุมบรรดาสมาชิกสภาหอการค้าระหว่างประเทศ ทุก 10 ปี เพื่อวางหลักเกณฑ์ข้อตกลงในการส่งมอบสินค้าระหว่างประเทศ เริ่มใช้ในปี ค.ศ. 1963 ฉบับปัจจุบันปรับปรุงแก้ไขเมื่อ ค.ศ. 2010 ประกาศใช้เมื่อ 1 มกราคม ค.ศ. 2011 เพื่อให้กฎเกณฑ์ดังกล่าวสอดคล้องกับหลักปฏิบัติทางการค้าระหว่างประเทศและในประเทศในปัจจุบัน โดยกําหนดให้ขอบเขตของ Incoterms @ 2010 จํากัดอยู่เฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาซื้อขาย ในเรื่องการสส่งมอบสินค้าที่ขาย ว่าโดยนัยของสินค้า ที่จับต้องได้ (Tangible Goods) เท่านั้น ไม่รวมถึง ที่จับต้องไม่ได้

INCOTERMS 2010

แบ่งตามรูปแบบการขนส่งสินค้า

  1. กลุ่มการขนส่งรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือหลายรูปแบบ (Multimodal transport) มี 7 เงื่อนไข คือ EXW, FCA, CPT, CIP, DAT, DAP และ DDP

  2. กลุ่มการขนส่งทางทะเลหรือทางน้ำ (Sea and waterways transport) มี 4 เงื่อนไขคือ FAS, FOB, CFR และ CIF

แบ่งตามจุดส่งมอบสินค้า

ข้อตกลงการส่งมอบของในทางการค้าระหว่างประเทศ (International Commercial Terms : Incoterms) ข้อตกลงการส่งมอบของในทางการค้าระหว่างประเทศ เป็นข้อตกลงที่กำหนดโดยหอการค้าระหว่างประเทศ เพื่อใช้แปลความข้อตกลงการค้าต่างประเทศ ให้เกิดความเข้าใจในหน้าที่และความรับผิดชอบระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ประกอบด้วยข้อตกลง 4 กลุ่ม จำนวน 11 ข้อตกลง ดังต่อไปนี้

  • EXW (Ex Works)

  • FCA (Free Carrier)

  • FAS (Free Alongside Ship)

  • FOB (Free on Board)

  • CFR (Cost and Freight)

  • CIF (Cost Insurance and Freight)

  • CPT (Carriage Paid to)

  • CIP (Carriage Insurance Paid to)

  • DAT (Delivered at Terminal)

  • DAP (Delivered at Place)

  • DDP (Delivered Duty Paid

Group E (การออกจากสถานที่)

(1) EXW (…….name Point within the place of Seller) ย่อจากคำว่า “Ex Works” เงื่อนไข การส่งมอบนี้ ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้าตามสัญญาก็ต่อเมื่อ ผู้ขายได้จัดให้สินค้าพร้อมสำหรับ การส่งมอบ ณ สถานที่ของผู้ขายเอง (Delivery point) โดยผู้ขายมิต้องรับผิดชอบในการขนสินค้าขึ้นยานพาหนะ ไม่ต้องทำพิธีการส่งออก (Customs Clearance) ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการขนสินค้า (Transport) จากสถานที่ของผู้ขายไปยังจุดหมายปลายทาง และความเสี่ยงภัยต่าง ๆ เป็นของผู้ซื้อ

Group F (การขนส่งหลักไม่ถูกจ่ายโดยผู้ขาย)

(2) FCA (……..name Point within the Place of Shipment) ย่อจากคำว่า “Free Carrier” เงื่อนไขการส่งมอบนี้ ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้าตามสัญญาก็ต่อเมื่อ ผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าให้กับ ผู้รับขนส่งที่ระบุโดยผู้ซื้อ ณ สถานที่ของผู้รับขนส่งที่เมืองท่าต้นทาง ผู้ขายจะต้องทำพิธีการส่งออก (Customs Clearance) รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าและความเสี่ยงภัยระหว่างการขนส่งจากสถานที่ของผู้ขายจนกระทั่งถึงสถานที่ของผู้รับขนส่งรายแรก (Delivery point) ส่วนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการขนสินค้าและความเสี่ยงภัยต่าง ๆ จากสถานที่ขนส่งสินค้าที่ประเทศต้นทาง ไปยังจุดหมายปลายทาง เป็นของผู้ซื้อ

(3) FAS (…….name Port of Shipment) ย่อจากคำว่า “Free Alongside Ship” เงื่อนไขการส่งมอบนี้ ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้าตามสัญญาก็ต่อเมื่อ ผู้ขายได้นำสินค้าไปยังกาบเรือ ณ ท่าเรือต้นทางที่ระบุไว้ (Delivery point) ส่วนค่าใช้จ่ายในการนำของขึ้นเรือ ค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าความเสี่ยงภัยในการนำของขึ้นเรือและระหว่างการขนส่ง เป็นภาระของผู้ซื้อในทันทีที่สินค้าถูกส่งมอบไปยังกาบเรือ ผู้ขายเป็นผู้ทำพิธีการส่งออกและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการทำพิธีการส่งออก รวมทั้งการขอใบอนุญาตส่งออกตลอดจนค่าภาษีอากรส่งออก

(4) F.O.B. (…….name Port of Shipment) ย่อมาจากคำว่า “Free on Board” เงื่อนไขการส่งมอบนี้ ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้าตามสัญญาก็ต่อเมื่อ ผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าข้ามกาบเรือขึ้นไปบนเรือสินค้า ณ ท่าเรือต้นทางที่ระบุไว้ (Delivery point) ผู้ขายเป็นผู้รับผิดชอบการทำพิธีการส่งออกด้วย ส่วนค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้า และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ รวมทั้งความเสี่ยงภัยในการขนส่งสินค้าเป็นภาระของผู้ซื้อในทันทีที่ของผ่านกาบระวางเรือไปแล้ว

Group C (การขนส่งหลักถูกจ่ายโดยผู้ขาย)

(5) CFR (……name Port of Destination) ย่อมาจากคำว่า “Cost and Freight” เงื่อนไขการส่งมอบนี้ ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้าตามสัญญาก็ต่อเมื่อ ผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าข้ามกาบเรือขึ้นไปบนเรือสินค้า (Delivery point) ผู้ขายเป็นผู้รับผิดชอบในการทำพิธีการส่งออก และจ่ายค่าระวางขนส่งสินค้า ส่วนค่าใช้จ่ายอื่น ๆ รวมทั้งความเสี่ยงภัยในการขนส่งสินค้าเป็นภาระของผู้ซื้อในทันทีที่ของผ่านกาบระวางเรือไปแล้ว

(6) CIF (…….name Port of Destination) ย่อมาจากคำว่า “Cost, Insurance and Freight” เงื่อนไขการส่งมอบนี้ ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้าตามสัญญาก็ต่อเมื่อ ผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าข้ามกาบเรือขึ้นไปบนเรือสินค้า ผู้ขายเป็นผู้รับผิดชอบในการทำพิธีการส่งออก จ่ายค่าระวางเรือ และค่าประกันภัยขนส่งสินค้า เพื่อคุ้มครองความเสี่ยงภัยในการขนส่งสินค้าจนถึงมือผู้ซื้อให้แก่ผู้ซื้อด้วย

(7) CPT (……name Point within the Place of Destination) ย่อจากคำว่า “Carriage Paid To” เงื่อนไขการส่งมอบนี้ ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้าตามสัญญาก็ต่อเมื่อ ผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าให้ผู้รับขนส่งที่ระบุโดยผู้ซื้อ ณ สถานที่ของผู้รับขนส่งสินค้าที่เมืองท่าต้นทาง ผู้ขายเป็นผู้รับผิดชอบในการทำพิธีการส่งออกและจ่ายค่าระวางขนส่งสินค้า ส่วนค่าใช้จ่ายอื่น ๆ รวมทั้งความเสี่ยงภัยในการขนส่งเป็นภาระของผู้ซื้อในทันทีที่สินค้าถูกส่งมอบให้แก่ผู้รับขนส่งสินค้าที่เมืองท่าต้นทาง

(8) CIP (………name Point within the Place of Destination) ย่อจากคำว่า “Carriage and Insurance Paid To” เงื่อนไขการส่งมอบนี้ ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้าตามสัญญาก็ต่อเมื่อ ผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าให้ผู้รับขนส่งที่ระบุโดยผู้ซื้อ ณ สถานที่ของผู้รับขนส่งสินค้าที่เมืองท่าต้นทาง ผู้ขายเป็นผู้รับผิดชอบในการทำพิธีการส่งออก จ่ายค่าระวางขนส่งสินค้า และค่าประกันภัยขนส่งสินค้า เพื่อคุ้มครองความเสี่ยงภัยใน การขนส่งสินค้าจนถึงมือผู้ซื้อให้แก่ผู้ซื้อด้วย

Group D (การมาถึง)

(9) DAT (………name Point within the Place of Destination) ย่อจากคำว่า “Delivered At Terminal” เป็นเทอมใหม่ แทน DEQ (Delivered Ex Quay) DAT สามารถใช้กับการขนส่งแบบใดก็ได้รวมทั้งใช้ได้กับการขนส่งที่มากกว่าหนึ่งรูปแบบในการขนส่ง (Multi Modern Transport) สำหรับการส่งมอบสินค้านั้น ถือว่าผู้ขายได้ส่งมอบสินค้า เมื่อมีการขนถ่ายสินค้าลงจากยานพาหนะที่บรรทุก ไปไว้ยังที่ที่ผู้ซื้อจัดไว้ ณ อาคารขนถ่ายสินค้า ในท่าเรือ หรือปลายทางตามที่ระบุไว้ ผู้ขายรับความเสี่ยงทั้งหมดที่เกี่ยวกับการนําสินค้าไปถึงและการขนถ่ายสินค้า ณ ท่าเทียบพาหนะขนส่งที่ท่าเรือ หรือสถานที่ปลายทางที่ระบุ ผู้ขายต้องปฏิบัติพิธีการเพื่อการส่งออก แต่ไม่มีภาระหน้าที่ปฏิบัติพิธีการเพื่อการนําเข้า ชําระอากรขาเข้าใด ๆ หรือดําเนินการปฏิบัติพิธีการศุลกากรนําเข้าใด ๆ

(10) DAP (………name Point within the Place of Destination) ย่อจากคำว่า “Delivered At Piace” เป็นเทอมใหม่แทน DAF (Delivered At Frontier), DES (Delivery Ex Ship), DEQ (Delivered Ex Quay) และ DDU (Delivered Duty Unpaid) ซึ่งทางหอการค้านานาชาติเห็นว่า เทอมเดิมทั้งสี่เทอมดังกล่าวค่อนข้างคล้ายกันมากแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย จึงยุบรวมกันเพื่อให้เกิดความสะดวกยิ่งขึ้น และตามข้อมูลเบื้องต้น ผู้ขายตามเทอม DAP จะต้องรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายต่าง ยกเว้นค่าภาษีและพิธีการนำเข้า และต้องรับความเสี่ยงภัย จนสินค้าถึงจุดหมายปลายทาง ผู้ขายต้องปฏิบัติพิธีการเพื่อการส่งออก แต่ไม่มีภาระหน้าที่ปฏิบัติพิธีการเพื่อการนําเข้า ชําระอากรขาเข้าใด ๆ หรือดําเนินการปฏิบัติพิธีการศุลกากรนําเข้าใด ๆ

(11) DDP (………name Point within the Place of Destination) ย่อจากคำว่า “Delivered Duty Paid” เงื่อนไขการส่งมอบนี้ ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้าตามสัญญาก็ต่อเมื่อ ผู้ขายได้จัดให้สินค้าพร้อมส่งมอบ ณ สถานที่ปลายทางของผู้ซื้อ ซึ่งผู้ขายเป็นผู้รับผิดชอบการทำพิธีการส่งออก จ่ายค่าระวางขนส่งสินค้า ค่าประกันภัยขนส่งสินค้า และเป็นผู้รับผิดชอบ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการนำของลงจากเรือและค่าขนส่งสินค้าไปยังสถานที่ที่ผู้ซื้อระบุไว้ จนกระทั่งสินค้าพร้อมส่งมอบ ณ สถานที่ปลายทาง ผู้ขายต้องเป็นผู้ดำเนินพิธีการนำเข้าสินค้าให้แก่ผู้ซื้อและเป็นผู้จ่ายค่าภาษีนำเข้าแทนผู้ซื้อด้วย

เอกสารเพิ่มเติม

Incoterms based on the mode of transport
Incoterms based on the point of delivery
### Incoterms based on the point of delivery
### Incoterms based on the point of delivery
### Incoterms based on the point of delivery

ภาพประกอบ :

https://fbabee.com
Incoterms Explained | Definitions and Practical Examples
EXIM Bank
INCOTERMS : ข้อกำหนดในการส่งมอบสินค้าระหว่างประเทศแบบเข้าใจง่าย ๆ