Customs Clearance
  • การปฏิบัติพิธีการศุลกากร
  • การนำเข้าสินค้า
    • คู่มือใบขนสินค้าขาเข้า
      • โครงสร้างข้อมูล
      • การคำนวณมูลค่าเงินนำเข้า
      • รูปแบบเลขที่ใบขนสินค้า
      • ประเภทของเอกสาร (Document Type)
      • ระบบทะเบียนผู้มาติดต่อ
      • วันนำเข้า (Arrival Date)
      • เลขที่ใบตราส่ง (Bill of Lading)
      • การกำหนดสถานที่
      • Shipping Marks
      • จำนวนและน้ำหนักของสินค้า
      • มีปัญหาพิกัด ราคา พบพนักงานศุลกากร
      • รหัสสกุลเงินตราและอัตราแลกเปลี่ยน
      • หลักการรวมรายการของบัญชีราคาสินค้า
      • ราคาของในการจัดทำข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า
      • INCOTERMS
      • ภาค 4 ของที่ได้รับยกเว้นอากร
        • 1 ภาค 4 สุทธินำกลับ
        • 2 ภาค 4 นำกลับไปซ่อม
        • 3 ภาค 4 ทัณฑ์บนนำเข้าชั่วคราว
        • 5 ภาค 4 ของใช้ส่วนตัว
        • 6 ภาค 4 ของใช้ในบ้านเรือนที่ใช้แล้ว
        • 7 ภาค 4 อุปกรณ์ของอากาศยานหรือเรือ
        • 10 ภาค 4 ของที่ได้รับเอกสิทธิ์
        • 11 ภาค 4 นำเข้ามาเพื่อบริจาค
        • 13 ภาค 4 ยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในราชการ
        • 14 ภาค 4 ตัวอย่างสินค้า
        • 16 ภาค 4 นำเข้ามาสำหรับคนพิการ
        • 17 ภาค 4 นำเข้ามาสำหรับการประชุมระหว่างประเทศ
        • วัสดุอุปกรณ์ในการขุดเจาะน้ำมัน
      • สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร
      • การชำระหรือวางประกันค่าภาษีอากร
        • การขอวางประกันโต้แย้งพิกัดอัตราศุลกากร
        • ขอวางประกันกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
        • วางประกันอากรตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน
        • หลักการบันทึกค่าภาษีอากรและวางประกัน
      • Payment Method and Guarantee Method
      • รหัสเหตุผลการโต้แย้ง (Argumentative Reason Code)
      • ประเภทค่าภาษีอากร (Duty Type)
      • หน่วยงานผู้ออกใบอนุญาต
      • การตรวจสอบระหว่างใบขนสินค้ากับ Manifest
      • รหัสสิทธิพิเศษ
    • ภาษีสรรพสามิต
      • การคำนวณภาษีสินค้าสรรพสามิต
        • เครื่องดื่มเข้มข้น
        • เครื่องดื่มชนิดผง เกล็ด
        • เครื่องดื่ม
        • ยาสูบ
        • สุรา
      • โครงสร้างราคาขายปลีกแนะนำ
      • สืบค้นรหัสสินค้าสรรพสามิต
    • การชำระค่าภาษีอากร ค่าธรรมเนียม
    • มาตรการปกป้องและตอบโต้ทางการค้า
  • สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร
    • คู่มือสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร
      • การโอนย้ายของออกจาก
        • ขอคืนอากรตามมาตรา 29
        • ส่งเสริมการลงทุน BOI
        • คลังสินค้าทัณฑ์บน
        • เขตปลอดอากร (Freezone)
        • เขตประกอบการเสรี (I-EAT Freezone)
      • เลขทะเบียนสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร
        • ขอคืนอากรตามมาตรา 29
        • คลังสินค้าทัณฑ์บน
        • เขตปลอดอากร/เขตประกอบการเสรี
  • ใบอนุญาต/ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์
    • รหัสยกเว้นไม่ต้องมีใบอนุญาต
  • สิทธิพิเศษทางการค้า
    • Checklist
    • ASEAN
    • ASEAN - China
  • ถ่ายลำ/ผ่านแดน
  • ข้อมูลติดต่อด่านศุลกากร
Powered by GitBook
On this page

Was this helpful?

  1. การนำเข้าสินค้า
  2. คู่มือใบขนสินค้าขาเข้า
  3. ภาค 4 ของที่ได้รับยกเว้นอากร

3 ภาค 4 ทัณฑ์บนนำเข้าชั่วคราว

สิทธิทัณฑ์บนนำเข้าชั่วคราว ประเภทที่ 3 ภาค 4

ของนำเข้ามาพร้อมกับตนหรือนำเข้ามาเป็นการชั่วคราว และจะส่งกลับออกไปภายในไม่เกิน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่นำเข้ามา ได้รับยกเว้นอากร ให้ผู้ขอยกเว้นอากรจัดทำและส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า โดยระบุค่าดังนี้

  • ระบุ Import Tariff = 3PART4

  • ระบุ Privilege Code = ตามสิทธิ ณ ขณะนำเข้า

  • อัตราอากร ใช้ Tariff Code และ Tariff Sequence

  • อากร ยกเว้น (บันทึก Exemption Rate = 100%)

  • VAT ยกเว้น (บันทึก Exemption Rate = 100%)

การกำหนดค่าวางเงินประกัน

  • ให้วางเป็นสัญญาประกันทัณฑ์บนเพื่อการปฏิบัติพิธีการ

  • คำนวณจาก ค่าภาษีอากรอันพึงจะต้องชำระตามปกติ แล้วคำนวณเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของเงินภาษีอากรที่ได้ประเมินไว้ และรวมกำหนดเป็นเงินประกัน

สิทธิ์ทัณฑ์บนชั่วคราวกำหนดให้ "วางเป็นสัญญาประกันทัณฑ์บนเพื่อการปฏิบัติพิธีการ" และให้คำนวณเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของเงินภาษีอากรที่ได้ประเมินไว้ การวางประกันรูปแบบนี้ ปัจจุบันยังไม่สามารถบันทึกในระบบใบขนสินค้าได้ การวางประกันผู้นำเข้าต้องติดต่อหน่วยงานศุลกากร ณ ด่านศุลกากร ที่นำของเข้า

ให้ยื่นคำร้องต่อหน่วยงานศุลกากร ณ ด่านศุลกากร ที่นำของเข้า โดยระบุเลขที่ใบขนสินค้าขาเข้าที่ของใช้สิทธิตามประเภทที่ 3 ภาค 4 เพื่อตรวจสอบการใช้สิทธิในการนำของที่นำเข้ามาเป็นการชั่วคราว และจะต้องแสดงหลักฐานให้เป็นที่พอใจว่า นำเข้ามาใช้ประโยชน์ในกิจการตามที่ระบุไว้ ตามพิกัดอัตราศุลกากรแต่ละประเภท

ประเภท

รายละเอียดทัณฑ์บนชั่วคราว

(ก)

ของที่ใช้ในการแสดงละครหรือการแสดงอย่างอื่นที่คล้ายกัน ซึ่งผู้แสดงที่ท่องเที่ยวนำเข้ามา

(ข)

เครื่องประกอบและของใช้ในการทดลอง หรือการแสดงเพื่อวิทยาศาสตร์ หรือการศึกษา ซึ่งบุคคลที่เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวนำเข้ามาเพื่อจัดการทดลองหรือแสดง

(ค)

รถสำหรับเดินบนถนน เรือและอากาศยาน บรรดาที่เจ้าของนำเข้ามาพร้อมกับตน

(ง)

เครื่องถ่ายรูปและเครื่องบันทึกเสียง ซึ่งบุคคลที่เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวนำเข้ามาเพื่อใช้ถ่ายรูปหรือบันทึกเสียงต่างๆ แต่ฟิล์มและแผ่นสำหรับถ่ายรูปหรือสิ่งที่ใช้บันทึกเสียง ซึ่งนำมาใช้ในการนี้ ต้องเป็นไปตามเงื่อนไข และปริมาณที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนด

(จ)

อาวุธปืนและกระสุนปืน ซึ่งบุคคลที่เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวนำเข้ามา พร้อมกับตน

(ฉ)

ของที่นำเข้ามาเป็นการชั่วคราว โดยมุ่งหมายจะแสดงในงานสาธารณะที่เปิดให้ประชาชนดูได้ทั่วไป

(ช)

ของที่นำเข้ามาเพื่อซ่อม แต่ต้องปฏิบัติภายในเงื่อนไขที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนด

(ซ)

ตัวอย่างสินค้า นอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 14 ซึ่งบุคคลที่เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว นำเข้ามาพร้อมกับตนและมีสภาพ ซึ่งเมื่อจะส่งกลับออกไปสามารถตรวจได้แน่นอนว่า เป็นของอันเดียวกับที่นำเข้ามา แต่ต้องมีปริมาณ หรือค่าซึ่งเมื่อรวมกันเข้าแล้วไม่เกินกว่าที่จะเห็นได้ว่าเป็นตัวอย่างตามธรรมดา

(ญ)

เครื่องมือ และสิ่งประกอบสำหรับงานก่อสร้าง งานพัฒนาการ รวมทั้งกิจการชั่วคราวอย่างอื่นตามที่อธิบดีกรมศุลกากรจะเห็นสมควร โดยให้ได้รับยกเว้นเพียงเท่าเงินอากรที่จะพึงเสียในขณะนำเข้าหักด้วยจำนวนเงินอากรที่คำนวณตามระยะเวลาที่ของนั้นอยู่ในประเทศ ในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนของจำนวนอากรที่จะพึงต้องเสียในขณะนำเข้า ในการคำนวณให้นับเศษของเดือนเป็น 1 เดือน และจะต้องชำระอากรก่อนส่งกลับออกไป

Previous2 ภาค 4 นำกลับไปซ่อมNext5 ภาค 4 ของใช้ส่วนตัว

Last updated 5 years ago

Was this helpful?