Customs Clearance
  • การปฏิบัติพิธีการศุลกากร
  • การนำเข้าสินค้า
    • คู่มือใบขนสินค้าขาเข้า
      • โครงสร้างข้อมูล
      • การคำนวณมูลค่าเงินนำเข้า
      • รูปแบบเลขที่ใบขนสินค้า
      • ประเภทของเอกสาร (Document Type)
      • ระบบทะเบียนผู้มาติดต่อ
      • วันนำเข้า (Arrival Date)
      • เลขที่ใบตราส่ง (Bill of Lading)
      • การกำหนดสถานที่
      • Shipping Marks
      • จำนวนและน้ำหนักของสินค้า
      • มีปัญหาพิกัด ราคา พบพนักงานศุลกากร
      • รหัสสกุลเงินตราและอัตราแลกเปลี่ยน
      • หลักการรวมรายการของบัญชีราคาสินค้า
      • ราคาของในการจัดทำข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า
      • INCOTERMS
      • ภาค 4 ของที่ได้รับยกเว้นอากร
        • 1 ภาค 4 สุทธินำกลับ
        • 2 ภาค 4 นำกลับไปซ่อม
        • 3 ภาค 4 ทัณฑ์บนนำเข้าชั่วคราว
        • 5 ภาค 4 ของใช้ส่วนตัว
        • 6 ภาค 4 ของใช้ในบ้านเรือนที่ใช้แล้ว
        • 7 ภาค 4 อุปกรณ์ของอากาศยานหรือเรือ
        • 10 ภาค 4 ของที่ได้รับเอกสิทธิ์
        • 11 ภาค 4 นำเข้ามาเพื่อบริจาค
        • 13 ภาค 4 ยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในราชการ
        • 14 ภาค 4 ตัวอย่างสินค้า
        • 16 ภาค 4 นำเข้ามาสำหรับคนพิการ
        • 17 ภาค 4 นำเข้ามาสำหรับการประชุมระหว่างประเทศ
        • วัสดุอุปกรณ์ในการขุดเจาะน้ำมัน
      • สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร
      • การชำระหรือวางประกันค่าภาษีอากร
        • การขอวางประกันโต้แย้งพิกัดอัตราศุลกากร
        • ขอวางประกันกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
        • วางประกันอากรตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน
        • หลักการบันทึกค่าภาษีอากรและวางประกัน
      • Payment Method and Guarantee Method
      • รหัสเหตุผลการโต้แย้ง (Argumentative Reason Code)
      • ประเภทค่าภาษีอากร (Duty Type)
      • หน่วยงานผู้ออกใบอนุญาต
      • การตรวจสอบระหว่างใบขนสินค้ากับ Manifest
      • รหัสสิทธิพิเศษ
    • ภาษีสรรพสามิต
      • การคำนวณภาษีสินค้าสรรพสามิต
        • เครื่องดื่มเข้มข้น
        • เครื่องดื่มชนิดผง เกล็ด
        • เครื่องดื่ม
        • ยาสูบ
        • สุรา
      • โครงสร้างราคาขายปลีกแนะนำ
      • สืบค้นรหัสสินค้าสรรพสามิต
    • การชำระค่าภาษีอากร ค่าธรรมเนียม
    • มาตรการปกป้องและตอบโต้ทางการค้า
  • สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร
    • คู่มือสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร
      • การโอนย้ายของออกจาก
        • ขอคืนอากรตามมาตรา 29
        • ส่งเสริมการลงทุน BOI
        • คลังสินค้าทัณฑ์บน
        • เขตปลอดอากร (Freezone)
        • เขตประกอบการเสรี (I-EAT Freezone)
      • เลขทะเบียนสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร
        • ขอคืนอากรตามมาตรา 29
        • คลังสินค้าทัณฑ์บน
        • เขตปลอดอากร/เขตประกอบการเสรี
  • ใบอนุญาต/ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์
    • รหัสยกเว้นไม่ต้องมีใบอนุญาต
  • สิทธิพิเศษทางการค้า
    • Checklist
    • ASEAN
    • ASEAN - China
  • ถ่ายลำ/ผ่านแดน
  • ข้อมูลติดต่อด่านศุลกากร
Powered by GitBook
On this page

Was this helpful?

  1. การนำเข้าสินค้า
  2. คู่มือใบขนสินค้าขาเข้า

หลักการรวมรายการของบัญชีราคาสินค้า

  1. เลขที่บัญชีราคาสินค้า (Invoice Number) ให้ระบุค่าตามจริง กรณีการนำเข้าไม่หมดในครั้งเดียวสามารถใช้เลขที่บัญชีราคาสินค้า ในใบขนสินค้าขาเข้าซ้ำได้อีก

  2. ลำดับรายการในบัญชีราคาสินค้า (Invoice Item Number) ให้ระบุค่าตามจริง

    • เพื่อเป็นการแจ้งว่ารายการในใบขนสินค้าขาเข้ารายการนี้มาจาก Invoice Number และ Invoice Item Number ใด

    • ในแต่ละรายการของใบขนสินค้าขาเข้าสามารถใช้ Invoice Number และ Invoice Item Number ซ้ำกันได้ เช่น กรณีใช้สิทธิ BOI, ใช้สิทธิตามมาตรา 29, สุทธินำกลับ

หลักการรวมเอกสาร Invoice เป็นข้อมูล Import Declaration Detail

  1. สามารถบันทึกข้อมูลรายละเอียดใบขนสินค้าจัดกลุ่มรายการตามพิกัดศุลกากร (Tariff Code) และรหัสสถิติสินค้า (Statistical Code) เดียวกันรวมกันได้ภายใต้เงื่อนไข ดังนี้

    • ชนิดของภาษาอังกฤษ (English Description of Goods) และชนิดของภาษาไทย (Thai Description of Goods) เดียวกัน และ

    • ราคาต่อหน่วยเงินต่างประเทศ (Unit Price Foreign) และราคาต่อหน่วยเงินบาท (Unit Price Baht) เท่ากัน และ

    • รหัสสกุลเงินตรา (Currency) ตามมาตรฐาน ISO ของแต่ละรายการเหมือนกัน และ

    • รหัสประเทศกำเนิด (Origin Country) ตามมาตรฐาน ISO เดียวกัน และ

    • ปีที่ผลิตสินค้า (Product Year) เดียวกัน และ

    • พิกัดสรรพสามิต (Excise No) รวมถึงปริมาณที่ใช้ในการคำนวณภาษีสรรพสามิต (Excise Quantity) และหน่วยของปริมาณ (Excise Quantity Unit) ตามมาตรฐาน ISO เดียวกัน

    • มีรหัสสิทธิพิเศษ (Privilege Code) เดียวกัน และมีประเภทของข้อมูล (Nature of Transaction) เดียวกัน เช่น 11 = เป็นการค้า , 21 = เป็นของแถม/ไม่มีมูลค่าทางการค้า , 90 = รับจ้างทำของ เป็นต้น

  2. ในการจัดทำข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าให้แยกรายการของในส่วน Import Declaration Detail แม้ตามบัญชีราคาสินค้าจะมี Invoice Item Number ซ้ำกัน ในกรณีใช้สิทธิทางภาษีอากรต่างกัน ดังนี้

    • เป็นรายการสุทธินำกลับ (Re- Importation Certificate)

    • เป็นรายการใช้สิทธิส่งเสริมการลงทุน (BOI)

    • เป็นรายการใช้สิทธิคลังสินค้าทัณฑ์บน (BOND)

    • เป็นรายการใช้สิทธิขอคืนอากรตามมาตรา 29 (19bis)

    • เป็นรายการใช้สิทธิส่งกลับไปยังต่างประเทศเพื่อขอคืนอากรตามมาตรา 28 (Re-Export)

    • เป็นการใช้สิทธิเขตปลอดอากร (Free Zone : FZ)

    • เป็นการใช้สิทธิเขตประกอบการเสรี (I-EA-T FREEZONE)

    • เป็นรายการขออนุมัติใบขนสินค้าหลายเที่ยวเรือ (Several)

    • การใช้สิทธิประโยชน์ การใช้สิทธิยกเว้นอากร ในกรณีอื่น ๆ (ถ้ามี)

  3. หากมีเลขที่ใบขนสินค้าที่อ้างถึง (Reference Declaration Number) และรายการในใบขนสินค้าที่อ้างถึง (Reference Declaration Line Number) ต่างกัน ให้แยกรายการของในส่วน Import Declaration Detail ด้วย

  4. กรณีสินค้าที่นำเข้าเป็น รถยนต์ เหล้า บุหรี่ ไวน์ ห้ามรวมรายการ

Previousรหัสสกุลเงินตราและอัตราแลกเปลี่ยนNextราคาของในการจัดทำข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า

Last updated 5 years ago

Was this helpful?