Customs Clearance
  • การปฏิบัติพิธีการศุลกากร
  • การนำเข้าสินค้า
    • คู่มือใบขนสินค้าขาเข้า
      • โครงสร้างข้อมูล
      • การคำนวณมูลค่าเงินนำเข้า
      • รูปแบบเลขที่ใบขนสินค้า
      • ประเภทของเอกสาร (Document Type)
      • ระบบทะเบียนผู้มาติดต่อ
      • วันนำเข้า (Arrival Date)
      • เลขที่ใบตราส่ง (Bill of Lading)
      • การกำหนดสถานที่
      • Shipping Marks
      • จำนวนและน้ำหนักของสินค้า
      • มีปัญหาพิกัด ราคา พบพนักงานศุลกากร
      • รหัสสกุลเงินตราและอัตราแลกเปลี่ยน
      • หลักการรวมรายการของบัญชีราคาสินค้า
      • ราคาของในการจัดทำข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า
      • INCOTERMS
      • ภาค 4 ของที่ได้รับยกเว้นอากร
        • 1 ภาค 4 สุทธินำกลับ
        • 2 ภาค 4 นำกลับไปซ่อม
        • 3 ภาค 4 ทัณฑ์บนนำเข้าชั่วคราว
        • 5 ภาค 4 ของใช้ส่วนตัว
        • 6 ภาค 4 ของใช้ในบ้านเรือนที่ใช้แล้ว
        • 7 ภาค 4 อุปกรณ์ของอากาศยานหรือเรือ
        • 10 ภาค 4 ของที่ได้รับเอกสิทธิ์
        • 11 ภาค 4 นำเข้ามาเพื่อบริจาค
        • 13 ภาค 4 ยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในราชการ
        • 14 ภาค 4 ตัวอย่างสินค้า
        • 16 ภาค 4 นำเข้ามาสำหรับคนพิการ
        • 17 ภาค 4 นำเข้ามาสำหรับการประชุมระหว่างประเทศ
        • วัสดุอุปกรณ์ในการขุดเจาะน้ำมัน
      • สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร
      • การชำระหรือวางประกันค่าภาษีอากร
        • การขอวางประกันโต้แย้งพิกัดอัตราศุลกากร
        • ขอวางประกันกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
        • วางประกันอากรตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน
        • หลักการบันทึกค่าภาษีอากรและวางประกัน
      • Payment Method and Guarantee Method
      • รหัสเหตุผลการโต้แย้ง (Argumentative Reason Code)
      • ประเภทค่าภาษีอากร (Duty Type)
      • หน่วยงานผู้ออกใบอนุญาต
      • การตรวจสอบระหว่างใบขนสินค้ากับ Manifest
      • รหัสสิทธิพิเศษ
    • ภาษีสรรพสามิต
      • การคำนวณภาษีสินค้าสรรพสามิต
        • เครื่องดื่มเข้มข้น
        • เครื่องดื่มชนิดผง เกล็ด
        • เครื่องดื่ม
        • ยาสูบ
        • สุรา
      • โครงสร้างราคาขายปลีกแนะนำ
      • สืบค้นรหัสสินค้าสรรพสามิต
    • การชำระค่าภาษีอากร ค่าธรรมเนียม
    • มาตรการปกป้องและตอบโต้ทางการค้า
  • สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร
    • คู่มือสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร
      • การโอนย้ายของออกจาก
        • ขอคืนอากรตามมาตรา 29
        • ส่งเสริมการลงทุน BOI
        • คลังสินค้าทัณฑ์บน
        • เขตปลอดอากร (Freezone)
        • เขตประกอบการเสรี (I-EAT Freezone)
      • เลขทะเบียนสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร
        • ขอคืนอากรตามมาตรา 29
        • คลังสินค้าทัณฑ์บน
        • เขตปลอดอากร/เขตประกอบการเสรี
  • ใบอนุญาต/ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์
    • รหัสยกเว้นไม่ต้องมีใบอนุญาต
  • สิทธิพิเศษทางการค้า
    • Checklist
    • ASEAN
    • ASEAN - China
  • ถ่ายลำ/ผ่านแดน
  • ข้อมูลติดต่อด่านศุลกากร
Powered by GitBook
On this page

Was this helpful?

  1. การนำเข้าสินค้า
  2. คู่มือใบขนสินค้าขาเข้า
  3. ภาค 4 ของที่ได้รับยกเว้นอากร

6 ภาค 4 ของใช้ในบ้านเรือนที่ใช้แล้ว

สิทธิของใช้ส่วนตัว (ของใช้ในบ้านเรือนที่ใช้แล้ว) ประเภทที่ 6 ภาค 4

  1. ของใช้ในบ้านเรือนที่ใช้แล้ว ที่เจ้าของนำเข้ามาพร้อมกับตน เนื่องในการย้ายภูมิลำเนาและมีจำนวนพอสมควรแก่ฐานะ ได้รับยกเว้นอากร

  2. ของใช้ในบ้านเรือนตามประเภทที่ 6 จะต้องนำเข้ามาถึงประเทศไทยไม่เกิน 1 เดือนก่อนที่ ผู้นำของเข้ามาถึง หรือไม่เกิน 6 เดือนนับแต่วันที่ผู้นำของเข้าเข้ามาถึง อธิบดีกรมศุลกากรมีอำนาจขยายกำหนดเวลาที่กล่าวข้างต้นได้ เมื่อเห็นว่ามีพฤติการณ์พิเศษ

  3. บุคคลที่ได้รับยกเว้นอากรของใช้ในบ้านเรือนตามประเภทที่ 6 ภาค 4

    • ชาวต่างประเทศที่ย้ายภูมิลำเนาเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักร ต้องเป็นผู้ได้รับโควต้าเข้าเมืองตามที่ปรากฏในหนังสือเดินทาง หรือใบประจำตัวคนต่างด้าว

    • ชาวต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาประกอบอาชีพในราชอาณาจักร จะได้รับการอนุโลมให้ถือว่าย้ายภูมิลำเนาต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองว่า บุคคลผู้นี้จะให้อยู่ได้ไม่ต่ำกว่า 1 ปี กรณีที่ยังไม่ได้รับอนุญาตแต่เป็นเรื่องรีบด่วนต้องยื่นเอกสารอย่างใดอย่างหนึ่งประกอบการพิจารณา คือ หนังสือสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองรับรองว่าจะได้รับอนุญาตให้อยู่ชั่วคราวเป็นปี ๆ ไป หรือหนังสืออนุญาตของกรมแรงงานว่า ได้รับอนุญาตให้ประกอบอาชีพในประเทศแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

    • คนต่างด้าวที่เข้ามาในฐานะผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญการพิเศษ หรือภายใต้สัญญาจ้างของหน่วยราชการ ต้องมีหนังสือของหน่วยราชการนั้น ๆ รับรองว่า บุคคลผู้นั้นได้รับอนุญาตจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองให้อยู่ในประเทศในประเภท NON IMMIGRANT แล้ว และจะอยู่ปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 1 ปี

    • กรณีชาวต่างประเทศที่ย้ายภูมิลำเนาตามสามีหรือภรรยา ตาม (ข) และ (ค) ถ้าปรากฏว่าสามีหรือภรรยานั้น ได้รับอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทยไม่น้อยกว่า 1 ปีแล้ว หากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองได้อนุญาตให้อยู่ครั้งแรก 90 วัน ก็ให้อนุโลมว่าย้ายภูมิลำเนา

    • คนไทยหรือข้าราชการไทยที่ไปทำงาน หรือดำรงตำแหน่งในต่างประเทศหรือดูงานในต่างประเทศต้องอยู่ประจำเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี กรณีที่ต้องเดินทางกลับก่อนกำหนด 1 ปี ต้องมีหลักฐานมาแสดงว่าได้เดินทางกลับเนื่องจากสิ้นสุดสัญญาการจ้าง หรือได้รับคำสั่งให้ย้ายกลับมาปฏิบัติหน้าที่ในราชอาณาจักร หรือเสร็จสิ้นการดูงานก่อนกำหนด

    • คนไทยที่ไปอยู่ประจำในต่างประเทศในกรณีอื่นเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี ต้องให้คำรับรองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าจะกลับเข้ามามีภูมิลำเนาในประเทศไทย

  4. ของใช้ในบ้านเรือนจะยกเว้นอากรตามประเภทที่ 6 ภาค 4 ให้ได้เท่าที่เป็นจำนวนพอสมควร เช่น ตู้เย็น เครื่องรับโทรทัศน์ วิทยุ จะยกเว้นให้เพียง 1 เครื่อง ถ้ามีมากกว่า 1 เครื่อง จะยกเว้นอากรให้เพียง 1 เครื่องเท่านั้น และเครื่องที่ยกเว้นค่าอากรให้นั้นต้องเป็นเครื่องที่มีค่าอากรต่ำสุด

  5. ให้ผู้ได้รับยกเว้นอากรจัดทำและส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า โดยระบุค่าดังนี้

    • การสำแดงพิกัดศุลกากรและรหัสสถิติสินค้าให้สำแดงตรงกับชนิดของของที่นำเข้า

    • ระบุ Import Tariff = 6PART4 (ของใช้ในบ้านเรือนที่ใช้แล้ว ที่เจ้าของนำเข้ามาพร้อมกับตนเนื่องในการย้ายภูมิลำเนา)

    • ระบุ Privilege Code = ตามสิทธิ ณ ขณะนำเข้า

    • อัตราอากร ใช้ Tariff Code และ Tariff Sequence ไปอ่านอัตราอากรที่ Table REFDRT

    • อากร ยกเว้น (บันทึก Exemption Rate = 100%)

    • VAT ยกเว้น (บันทึก Exemption Rate = 100%)

  6. ให้ยื่นคำร้องต่อหน่วยงานศุลกากร ณ ด่านศุลกากร ที่นำของเข้า โดยระบุเลขที่ใบขนสินค้าขาเข้าที่ของใช้สิทธิตามประเภท 6 ภาค 4 เพื่อตรวจสอบการใช้สิทธิในการยกเว้นอากรของใช้ในบ้านเรือน

Previous5 ภาค 4 ของใช้ส่วนตัวNext7 ภาค 4 อุปกรณ์ของอากาศยานหรือเรือ

Last updated 5 years ago

Was this helpful?